Department of Automotive
สาขาวิชาช่างยนต์ คือ สาขาวิชาที่เรียนเกี่ยวกับการบำรุงรักษารถยนต์ เช่น การบำรุงรักษาระบบเครื่องยนต์ ระบบเครื่องล่างรถยนต์ ระบบส่งกำลังรถยนต์ ระบบไฟฟ้าและระบบปรับอากาศรถยนต์ เป็นต้น รวมไปถึงรถจักรยานยนต์และเครื่องยนต์ต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันหรือใช้ในการเกษตร การเรียนในสาขาวิชาช่างยนต์นั้นจะเน้นการฝึกปฏิบัติและทฤษฎีควบคู่กัน เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในสายงานช่างยนต์
แนวทางการประกอบอาชีพ
- ช่างยนต์ประจำศูนย์บริการรถยนต์และรถจักรยานยนต์
- ช่างซ่อมบำรุงประจำบริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรม
- ช่างเทคนิคประจำบริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรม
- ช่างซ่อมรถยนต์ประจำอู่ซ่อมรถยนต์หรือบริษัท
- ช่างตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ รถยนต์ (ตรอ.)
- ช่างควบคุมเครื่องจักร
Department of Electrical Power
เข้าถึงด้าน ระบบความปลอดภัยในงานไฟฟ้า การเรียนรู้กฎและมาตรฐานทางไฟฟ้า การออกแบบและการประมาณราคาติดตั้งไฟฟ้าในอาคาร การเขียนแบบและการคำนวณวงจรไฟฟ้าเบื้องต้น การซ่อมบำรุงรักษาของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า การวิเคราะห์และวิธีการแก้ปัญหาในระบบไฟฟ้าเบื้องต้น การพันและการทดสอบมอเตอร์ 1 เฟส และ 3 เฟส การควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องจักรกลไฟฟ้า ระบบควบคุมในโรงงานอุตสาหกรรมและสถานประกอบการต่างๆจนมีทักษะและการพัฒนาเพื่อก้าวสู่ทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันและอนาคต
แนวทางการประกอบอาชีพ
- การออกแบบการติดตั้งไฟฟ้าและการเดินสายไฟภายในบ้าน
- การพันมอเตอร์ไฟฟ้า
- ช่างเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ
- ช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
- ช่างซ่อมบำรุงในโรงงานและสถานประกอบการต่างๆ
- ระบบโทรคมนาคม
- ธุรกิจส่วนตัว
Department of Electronic
เรียนรู้ และปฏิบัติงานเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น หน่วยวัดทางไฟฟ้า ประเภทของไฟฟ้า กฎของโอห์ม การวิเคราะห์ตรวจซ่อม ต่อ และแก้ไขวงจรแบบต่างๆ การใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า การทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การต่อแหล่งจ่ายไฟฟ้า การต่อและวิเคราะห์วงจรขยายทรานซิสเตอร์ เครื่องขยายเสียงแบบต่างๆ ปฏิบัติประกอบ-ตรวจซ่อมเครื่องขยายเสียง
และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม เครื่องเสียง
แนวทางการประกอบอาชีพ
- ช่างอิเล็กทรอนิกส์
- ช่างซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประจำศูนย์ต่างๆ
- เจ้าของกิจการร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
- ช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า เตารีด พัดลม หม้อหุงข้าว เป็นต้น
- ช่างซ่อมเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ ซ่อมวิทยุ โทรทัศน์ วีซีดี ดีวีดี เป็นต้น
- งานด้านโทรศัพท์มือถือ ซ่อมและงานโปรแกรม เช่นทำ Logo, Ring Tone, Video Clip เป็นต้น
- ช่างติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียม ซ่อมบำรุงและโปรแกรม
- ช่างประกอบ ซ่อม ติดตั้งระบบเสียง และงานปรับแต่งระบบเสียง(Mix)
- งานเขียนโปรแกรมควบคุมไมโครคอนโทรลเลอร์ เช่น วงจรไฟวิ่งโปรแกรม หุ่นยนต์ เป็นต้น
- งานรับออกแบบแผ่นวงจรพิมพ์
- งานติดตั้งระบบสายอากาศวิทยุและโทรทัศน์
- งานออกแบบผลิตภัณฑ์ด้านอิเล็กทรอนิกส์
- จำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
Department of Information Technology
ก้าวล้ำโลกเทคโนโลยีสู่การเป็นนักบริหารด้านคอมพิวเตอร์ เสริมศักยภาพระดับสูงด้วยการมีความคิดสร้างสรรค์ในด้านการบริหารธุรกิจและด้านคอมพิวเตอร์ เรียนรู้จนเชี่ยวชาญในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เทคโนโลยีสารสนเทศ และการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศจะเน้นเรียนทางด้านระบบและเทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น การเรียนทางด้านกราฟิก และยังรวมถึงศาสตร์อื่นๆ ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน เช่น เรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศภายในและภายนอกองค์กร เรียนรู้เกี่ยวกับการตลาดในด้านอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยี เรียนรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายเชิงประยุกต์ ที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพในอนาคต
แนวทางการประกอบอาชีพ
- นักโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer)
- นักพัฒนาเว็บไซต์ (Web Developer)
- ผู้ทดสอบโปรแกรม (Software Tester)
- นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
- นักออกแบบสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ (Software Architect)
- ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ (Project Manager Assistant)
- นักออกแบบระบบเครือข่าย (NetworkSystem Designer)
- นักพัฒนาระบบเครือข่าย (Network System Engineer)
- ผู้ดูแลระบบเครือข่าย (Network System Administrator)
- นักพัฒนาเกม (Game Developer)
- นักออกแบบและพัฒนาเว็บ (Web Designer/Developer)
- นักออกแบบ UI/UX
- นักผลิตสื่อดิจิทัล (Digital Media Content Creator)
- นักวิเคราะห์ความปลอดภัยด้านไอที (IT Security Analyst)
- ผู้จัดการธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business Manager)
- SEO (Search Engine Optimization) Analysis
- นักพัฒนาฐานข้อมูล (Database Developer) และอื่นๆ
Accounting Department
สาขาวิชาการบัญชี จัดหลักสูตรการเรียนการสอนโดยเน้นให้ผู้เรียนมีสมรรถนะทางด้านวิชาชีพในด้าน ความรู้เกี่ยวกับหลักการทั่วไปของงานอาชีพเฉพาะ การตัดสินใจ วางแผนแก้ไขปัญหา การเลือกใช้เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ในงานอาชีพ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะ ได้แก่ ทักษะการเลือกและประยุกต์ใช้ วิธีการ เครื่องมือและวัสดุขั้นพื้นฐานในการปฏิบัติงาน ทักษะการปฏิบัติงานพื้นฐานอาชีพ ทักษะการคิด วิเคราะห์และแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ ตลอดชีวิต ทักษะด้านสุขภาวะและความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้ ได้แก่ การวางแผนดําเนินงานตามหลักการและกระบวนการ โดยคำนึงถึงการบริหารงาน ปฏิบัติงานพื้นฐานอาชีพ ด้านการบัญชีตามหลักการและกระบวนการ รวบรวมเอกสารและบันทึกบัญชีของธุรกิจบริการ ธุรกิจซื้อขาย สินค้า และธุรกิจอุตสาหกรรมสำหรับกิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด บันทึกบัญชีโดยใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่องานบัญชี ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการแก้ปัญหาและการปฏิบัติงานด้านการบัญชี
แนวทางการประกอบอาชีพ
- พนักงานสำนักงานตรวจสอบบัญชี
- พนักงานบัญชีกิจการเจ้าของคนเดียว
- พนักงานบัญชีธุรกิจบริการ
- พนักงานบัญชีธุรกิจซื้อขายสินค้า
- ลูกจ้างหน่วยงานภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ
Hotel academic Department
สาขาการโรงแรม สำหรับระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) คือ สาขาที่ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับรายวิชาการโรงแรมทั้งสิ้น ประกอบไปด้วยรายวิชา ศิลปะการจัดตกแต่งอาหาร ภัตตาคารและงานจัดเลี้ยง งานส่วนหน้าในโรงแรม เบเกอรี่ ธุรกิจโรงแรม อาหารเพื่อสุขภาพ ภาษาจีนพื้นฐาน เป็นต้น เป็นการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียน สามารถนำไปใช้ได้จริงเกี่ยวกับการทำงานในธุรกิจโรงแรม
แนวทางการประกอบอาชีพ
- พนักงานต้อนรับ
- เชฟ
- บาเทนเดอร์
- บาริสต้าร์
- พนักงานส่วนห้องพัก
- พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม
- การจัดประชุม (Mice)
Vocational project to create skilled workers
“โครงการอาชีวะ สร้างช่างฝีมือ”เป็นโครงต่อเนื่องจากโครงการพระดาบส ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โครงการพระดาบส ได้ดำเนินการตามพระราชดำริ มาเป็นระยะเวลา 42 ปี ซึ่งตลอดระยะเวลาในการดำเนินการได้มีประชาชนที่มีคุณสมบัติตรงตามโครงการฯ ได้เข้ารับการพัฒนาทักษะอาชีพจำนวนมาก แต่โครงการฯสามารถรับผู้เรียนได้ปีละไม่เกิน 150 คน ทำให้มีผู้สมัครอีกมากที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ ผู้บริหารโครงการฯ จึงได้ประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้คัดเลือกสถานศึกษาในสังกัด เป็นผู้ดำเนินโครงการฯตามแนวโครงการฯหลัก โดยให้ชื่อว่า “โครงการอาชีวะสร้างช่างฝีมือ” เพื่อพัฒนาอาชีพให้กับประชาชนผู้ขาดโอกาสในการศึกษา หรือฝึกทักษะอาชีพด้านอื่น ๆ นอกจากอาชีพที่ดำเนินการในครัวเรือน
หลักในการดำเนินการของโครงการอาชีวะสร้างช่างฝีมือ
- ฝึกอาชีพให้กับประชาชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา และต้องการฝึกประสบการณ์อาชีพที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ทันทีหลังสำเร็จการศึกษาจากโครงการฯ
- ผู้เรียนไม่จาเป็นต้องมีวุฒิการศึกษา แต่ขอให้อ่านและเขียนภาษาไทยได้ คำนวณเลขอย่างง่ายได้ เช่น รู้หลักการและวิธีในการบวก ลบ คูณ หาร
- ตลอดระยะเวลาในการศึกษา 1 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ( ยกเว้น ทำทรัพย์สินของราชการเสียหายความตั้งใจ หรือขาดสติ )